‘ปวดเข่า’ นับเป็นอาการปวดและเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย ไม่เพียงแต่ในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยจากสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่าอาการปวดเข่าเหล่านี้เกิดจากอะไรกันแน่

ทำความรู้จักข้อเข่า

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าภายในสรีระข้อเข่าของเรานั้น ประกอบไปด้วยกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง ลูกสะบ้า รวมถึงอวัยวะที่สำคัญทั้ง กระดูกอ่อนและน้ำหล่อเลี้ยงที่คอยรองรับการเคลื่อนไหวของข้อเข่า นอกจากนี้ยังมีเอ็นรอบข้อเข่า ได้แก่ เอ็นไขว้หน้าและเอ็นไขว้หลังที่ทำหน้าที่สร้างความมั่นคงให้กับเข่าและหมอนรองกระดูก เพื่อรองรับแรงกระแทกบริเวณข้อเข่า อีกทั้งยังช่วยดูดซับและกระจายแรงจากน้ำหนักตัวให้สมดุลอีกด้วย

อาการปวดเข่าที่พบบ่อย

อาการปวดเข่า ส่วนใหญ่มักเกี่ยวเนื่องกันหลายส่วน เราจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอว่ามีอาการเจ็บปวดในลักษณะใด ซึ่งอาการปวดหัวเข่าหรือข้อเข่า สามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ ดังนี้

  • อาการปวดข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว
    อาการปวดข้อเข่าลักษณะนี้ จะไม่ได้มีอาการปวดอยู่ตลอดเวลา หากเพียงนั่งหรือนอนพักจะไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่จะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อขยับตัวหรือเคลื่อนไหวในบางท่าเท่านั้น ซึ่งอาการปวดเช่นนี้จะบ่งบอกได้ว่าโครงสร้างบางตำแหน่งของข้อเข่าที่มีการใช้งานหรือรับน้ำหนักกำลังเกิดความผิดปกติบางอย่าง
  • อาการปวดเฉพาะตอนเริ่มขยับข้อเข่า
    เมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือขยับข้อเข่าจะรู้สึกปวดบริเวณข้อเข่าในช่วงแรก ๆ แล้วอาการปวดจะค่อย ๆ หายไป เช่น เมื่อลุกขึ้นมาเดินหลังจากตื่นนอนจะรู้สึกปวดเข่ามากเมื่อขยับก้าวแรก แต่พอขยับเคลื่อนไหวสักพักอาการปวดจะทุเลาลง หรือแม้แต่ตอนที่นั่งนาน ๆ และลุกขึ้นยืนจะรู้สึกปวดเข่า เมื่อเดินสักพักอาการปวดจะทุเลาลงไปเอง อาการปวดลักษณะนี้สามารถบ่งบอกได้ว่าข้อเข่าเกิดการอักเสบแต่ไม่รุนแรงมาก เนื่องจากไม่มีการขยับข้อเข่าเป็นเวลานานทำให้มีอาการอับเสบสะสมอยู่ในตำแหน่งที่มีความผิดปกติ จึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเมื่อขยับครั้งแรกและเมื่อเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงบริเวณเข่ามากขึ้นก็จะทำให้อาการอักเสบนั้นทุเลาลงและหายไป
  • อาการปวดหัวเข่าอยู่ตลอดเวลา
    อาการปวดเข่าลักษณะนี้จะรู้สึกปวดอยู่ตลอดเวลา แม้จะนอนพักหรือนั่งอยู่เฉย ๆ ก็ตาม ซึ่งอาการปวดลักษณะนี้จะบ่งบอกได้ว่าบริเวณหัวเข่ามีอาการอักเสบรุนแรงและมีสารอักเสบคั่งอยู่ในข้อเข่าปริมาณค่อนข้างมาก โดยจะพบร่วมกับอาการบวม แดง ร้อน บริเวณหัวเข่า เมื่อลองเอามือสัมผัสตรงบริเวณที่ปวดจะพบว่ามีความอุ่นร้อนมากกว่าปกติ
  • อาการปวดเฉพาะตำแหน่ง
    อาการปวดลักษณะนี้จะปวดเฉพาะบางจุดหรือตำแหน่งที่กดโดน อาจเรียกว่าเป็นพยาธิสภาพหรือรอยโรคเฉพาะตำแหน่งที่เรากดเท่านั้น เช่น อาการเคล็ด การบาดเจ็บ ซึ่งอาจเกิดจากการใช้งานข้อเข่าหนักเกินไปนั่นเอง

สาเหตุของอาการปวดเข่า

  1. การอักเสบของเส้นเอ็น เนื่องจากเส้นเอ็นมีหน้าที่ประคองและทำให้ข้อเข่าทำงานได้ตามปกติ แต่หากมีการใช้งานซ้ำๆ เช่น การเล่นกีฬา อาจทำให้เส้นเอ็นลูกสะบ้าทำงานหนักจนเกิดการอักเสบหรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ข้อเข่าถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจทำให้เอ็นรอบๆ ข้อเข่าหรือเอ็นไขว้หน้าด้านในฉีกขาดจนเกิดการอักเสบและปวดบวมได้
  2. การสึกหรอของกระดูกอ่อน อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้ เนื่องจากกระดูกอ่อนที่รองลูกสะบ้าอยู่นั้นมีการสึกหรอ เสื่อมสภาพ หรือเกิดการอักเสบ ซึ่งเกิดได้จากการใช้งานหรือมีการกระแทกซ้ำ ๆ หรือการงอเข่า นั่งยองเป็นประจำ รวมถึงกล้ามเนื้อโดยรวมของสะโพกและขาไม่แข็งแรง จึงทำให้เกิดอาการปวดเข่าขึ้นมาได้
  3. การบาดเจ็บของหมอนรองกระดูก เช่น หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด เอ็นเข่าด้านในได้รับบาดเจ็บ เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด เป็นต้น รวมถึงอาจเกิดจากความเสื่อมของเนื้อหมอนรองกระดูกตามอายุ ทำให้กระดูกอ่อนเกิดการเสียดสีและสึกหรอ
  4. ถุงน้ำในข้อเข่าอักเสบ ในข้อเข่าของคนเราจะมีถุงน้ำหล่อเลี้ยง เพื่อลดแรงกระแทกและลดการเสียดสีลง หากเกิดการอักเสบจะทำให้น้ำเข่าเพิ่มมากกว่าปกติ จึงทำให้เข่าร้อน บวม และเจ็บ
    ภาวะเสื่อมของข้อเข่า ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการปวดจากด้านในของข้อเข่า หากอาการรุนแรงขึ้นก็จะทำให้ปวดไปทั่วทั้งหัวเข่า ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บของส่วนต่าง ๆ เช่น เส้นเอ็น หมอนรองกระดูก รวมถึงการเสื่อมตามธรรมชาติและจากโรคประจำตัวต่าง ๆ

วิธีดูแลตัวเองเมื่อปวดเข่า

  • พักการใช้งาน โดยลดการเคลื่อนไหวข้อเข่าหนัก ๆ เช่น ไม่ยืนหรือเดินนาน ๆ หลีกเลี่ยงเดินขึ้นหรือลงบันไดบ่อยๆ เป็นต้น
  • ยกปลายขาสูง ในขณะนั่งหรือนอน โดยยกขาขึ้นมาบนเก้าอี้หรือใช้หมอนหนุนใต้เข่า เพื่อลดการคั่งของเลือดบริเวณเข่า
  • ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดภาระให้กับข้อเข่า
  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ไม่นั่งหรือนอนท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการนั่งพับขา นั่งงอเข่า รวมถึงการนั่งไขว้ห่าง เพื่อลดแรงกดบริเวณหัวเข่า
  • ออกกำลังกายบริหารข้อเข่า รวมถึงเพิ่มกล้ามเนื้อให้ต้นขาและสะโพกให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • ทานอาหารบำรุงกระดูกและข้อเข่า เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส หรือคอลลาเจนที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเอ็นและกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยบรรเทาอาการปวดจากความเสื่อมของกระดูกและยังเพิ่มน้ำในข้อต่อให้สามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ดีขึ้นอีกด้วย

อาการปวดเข่า ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทั้งอาการปวดบวม เข่ามีเสียงกร๊อบแกร๊บ หรือเข่าโก่งงอจนเบี้ยวผิดรูปได้เลยทีเดียว ดังนั้นจึงควรใส่ใจสุขภาพของข้อเข่าและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เพื่อชะลอความเสื่อมของข้อเข่าและช่วยบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้

Mana Collagen 1 แถม 1
คอลลาเจนบำรุงกระดูก และข้อต่อ ดูดซึมได้ไวที่สุด จากขนาดโมเลกุลขนาดเล็กของคอลลาเจนไดเปปไทด์