หลายคนอาจมองว่าอาการปวดเข่าเพียงเล็กน้อยอาจเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่อันที่จริงแล้วอาการปวดเข่าเล็กๆน้อย ๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของ ‘ข้อเข่าเสื่อม’ ก็เป็นได้ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงพบในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถพบได้ในคนอายุน้อย ๆ หรือวัยทำงานก็ได้เช่นเดียวกัน ลองมาเช็กกันดูว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ เพื่อที่จะได้รีบป้องกันก่อนข้อเข่าจะเสื่อมจนแก้ไขได้ยาก

ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากอะไร?

ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพและสึกหรอของกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่า โดยทั่วไปแล้วพบมากในผู้สูงวัยมักหรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเกิดจากผิวของกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่เป็นเบาะรองรับน้ำหนักมีความยืดหยุ่นน้อยลงและเกิดการยุบตัว จึงทำให้กระดูกข้อต่อเกิดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหวจนเกิดการสึกกร่อน มีเสียงดังในข้อและมีอาการเจ็บปวดเมื่อขยับหรือเคลื่อนไหว แต่อย่างไรก็ตามในผู้ที่อายุน้อยหรือนักกีฬาที่ใช้งานข้อเข่าอย่างหนักมาเป็นเวลานาน อาจทำให้ข้อเข่าอักเสบและเสื่อมเร็วกว่าคนปกติทั่วไปได้ ซึ่งนอกจากอายุที่อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น

  • พันธุกรรม ความผิดปกติบางอย่างทางพันธุกรรมก็ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรงและอาจทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้
  • น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากขึ้น
  • อุบัติเหตุ ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณข้อเข่า รวมถึงอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่ทำให้หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด เป็นต้น

5 สัญญาณที่บ่งบอกว่าข้อเข่ากำลังเสื่อมลง

  1. มีเสียงดังในข้อเข่า – โดยปกติแล้ว ในข้อเข่าของเราจะจะมีหมอนรองกระดูกคอยรับน้ำหนัก กระจายแรงกด และป้องกันไม่ให้ผิวกระดูกต้นขากับผิวกระดูกหน้าแข้งเสียดสีกัน เพื่อให้ข้อต่อขยับหรือเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติ แต่ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุที่ข้อเข่าจะมีภาวะหมอนรองกระดูกสึกกร่อนหรือเสื่อมสภาพลงจนทำผิวกระดูกเสียดสีกันจนเกิดเสียงดังขึ้น
  2. ปวดเข่าหลังตื่นนอนหรือนั่งนาน ๆ – อาการปวดเข่าหลังจากนั่งหรือนอนนาน ๆ จะทำให้ข้อเข่าฝืดแข็ง ซึ่งเกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่าลดลงและอักเสบ เมื่อลุกขึ้นยืนหรือเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น งอเข่า เหยียดขา ก้าวขาเดิน นอกจากนี้ อาการปวดเข่าเช่นนี้ยังเกิดจากหมอนรองกระดูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอซึ่งล้วนแต่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร
  3. มีอาการเสียบแปลบในข้อเข่า – อาการปวดเสียวในข้อเข่าอาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุ ได้แก่
    • กล้ามเนื้อรอบเข่าตึง เมื่อเข่าเสื่อมและทรุดตัวลงจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้างและเมื่อเกร็งค้างไว้เป็นเวลานาน ๆ จึงทำให้มีอาการปวดเข่านั่นเอง
    • ผิวกระดูกเสียดสีกันเมื่อผิวกระดูกเสียดสีกันจนเสียหาย กลไกของร่างกายจึงกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกงอกขึ้นมาใหม่จนทิ่มแทงเนื้อเยื่อรอบเข่า จึงทำให้รู้สึกปวดเข่าอย่างมากโดยเฉพาะเวลาเดินหรือลงน้ำหนักที่หัวเข่า
  4. ข้อเข่าติด ยืดหรืองอได้ไม่สุด – เมื่อเริ่มมีภาวะข้อเข่าเสื่อม จะไม่สามารถยืดเหยียดหรืองอเข่าได้อย่างเต็มที่ หากกดหรืองอเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้รู้สึกเจ็บแปลบขึ้นมาทันที ซึ่งเกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบเข่า จึงทำให้กระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งอยู่ชิดกันมากเกินไป
  5. หัวเข่าล้าหรือเมื่อยง่าย – ในระยะแรกจะเริ่มรู้สึกปวดเข่าขณะขยับหรือเคลื่อนไหว เช่น เดิน วิ่ง ย่อขาหรือขึ้น-ลงบันได หรือเสียวเข่าเมื่อลุกขึ้นหลังจากนั่งหรือนอนนาน ๆ แต่อาการปวดจะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อหยุดใช้งานข้อเข่า แต่หากมีอาการแสดงว่าข้อเข่าเสื่อมรุนแรงขึ้นจะรู้สึกปวดเข่ามากในตอนกลางคืนหรือเมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา โดยจะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า รวมถึงอาจมีอาการบวมร้อนและมีน้ำในข้อเข่า หากปล่อยไว้นานไปจะส่งผลให้ข้อเข่าโก่งหลวมหรือบิดเบี้ยวผิดรูปไปในที่สุด

วิธีป้องกันและรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม

  • เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการออกกำลังกาย โดยเปลี่ยนวิธีการออกกำลังกายที่ใช้ข้อเข่าหนักมาเป็นการยืดหยุ่นร่างกายแทน เช่น ว่ายน้ำ โยคะ พิลาทีส เป็นต้น
  • ทานคอลลาเจน โดยเลือกคอลลาเจนเปปไทด์ชนิดที่ 2 ที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดภายในข้อเข่า ชะลอความเสื่อมของกระดูกและเซลล์กระดูก ช่วยเพิ่มน้ำในข้อต่อทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
  • บริหารข้อเข่า ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยการนอนเหยียดเข่าตรงและยกเท้าขึ้นจากพื้นนาน 15 วินาที ทำซ้ำเป็นแระจำเพื่อให้กล้ามเนื้อสามารถพยุงเข่าให้มั่นคงยิ่งขึ้น
  • เมื่อมีอาการข้อเข่าเสื่อมแล้ว สามารถใช้ยาตามอาการ ได้แก่
    1. ยากลูโคซามีน มีฤทธิ์เสริมสร้างกระดูกอ่อนและช่วยในการหล่อลื่นข้อเข่า
    2. ยาลดปวดและลดการอักเสบภายในข้อเข่า
  • ฉีดยาเข้าข้อเข่า ซึ่งอาจจะเป็นสารน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าหรือยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบภายในข้อเข่า
  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อมรุนแรงและโก่งผิดรูป หรือมีอาการปวดเรื้อรัง

อย่างไรก็ตาม เราเองสามารถดูแลรักษาและป้องกันข้อเข่าเสื่อมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการเลือกทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการบำรุงหรือชะลอความเสื่อมของกระดูกและข้อต่อได้ โดยเฉพาะหากเริ่มมีสัญญาณหรืออาการผิดปกติควรหยุดพักการใช้งานข้อเข่าและสังเกตตนเองว่ามีอาการปวดแบบไหน หากมีอาการรุนแรงอย่ารอช้าควรรีบไปพบแพทย์ก่อนที่จะสายเกินแก้

Mana Collagen 1 แถม 1
คอลลาเจนบำรุงกระดูก และข้อต่อ ดูดซึมได้ไวที่สุด จากขนาดโมเลกุลขนาดเล็กของคอลลาเจนไดเปปไทด์