เมื่อวัยเพิ่มมากขึ้น กระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกายก็เริ่มเสื่อมสภาพลง โดยเฉพาะปัญหาข้อเข่าเสื่อมจากการที่กระดูกและอวัยวะภายในข้อเข่าสึกหรอและเสื่อมสภาพ เนื่องจากหัวเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัวและแรงกระแทกเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการบาดเจ็บและรุนแรงจนถึงขั้นเข่าบวมน้ำเลยทีเดียว

โรคเข่าบวมน้ำคืออะไร?

โรคเข่าบวมน้ำ เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างภายในข้อเข่าหรือเรียกว่าสภาวะการสะสมน้ำเลี้ยงในข้อเข่าผิดปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วในเข่าจะมีน้ำไหลเวียนเป็นการหล่อลื่นข้อต่ออยู่ตลอดเวลา หากข้อเข่ามีการเสียดสีของกระดูกกับหมอนรองกระดูกจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเข่าเกิดการอักเสบและมีการสะสมน้ำมากขึ้น ซึ่งจะสังเกตได้ค่อนข้างชัดว่าข้อเข่าด้านในจะไม่มีรอยบุ๋ม นั่นเป็นเพราะมีน้ำดันออกมาจนบวมใหญ่ขึ้น จึงทำให้มีอาการเจ็บและปวดตึงบริเวณหัวเข่า รวมถึงยืดเหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุดอีกด้วย

โรคเข่าบวมน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ตามสรีระของข้อเข่านั้น จะมีอวัยวะสำคัญที่เป็นโครงสร้างของข้อเข่า อยู่ 5 ชนิด ได้แก่

  • กระดูกอ่อนรองข้อเข่า (Articular cartilage)
  • เอ็นไขว้หน้า (Anterior Cruciate Ligament-ACL)
  • เอ็นไขว้หลัง (Posterior Cruciate Ligament-PCL)
  • หมอนรองกระดูก (Meniscus)
  • เยื่อหุ้มข้อ (Synovial membrane)

เมื่อใดก็ตามที่อวัยวะเหล่านี้ได้รับอันตรายหรือเกิดการอักเสบ จะทำให้เข่ากระตุ้นเยื่อหุ้มข้อให้สร้างสารน้ำขึ้นมาเพื่อป้องกันตนเอง โดยน้ำที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นจะเข้ามาเป็นตัวช่วยในการลดแรงกระทำจากภายนอกที่มักเกิดจากสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

  1. เกิดจากอุบัติเหตุ เรียกได้ว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการเข่าบวมน้ำและต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อเข่า ไม่ว่าจะอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะ การพลัดตกจากที่สูง หรือการหกล้มที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของอวัยวะภายในข้อเข่า ซึ่งหากมีอาการรุนแรงมากจะมีเลือดออกและนำไปสู่โรคเข่าบวมน้ำในที่สุด
  2. เกิดจากการอักเสบ จากโรคบางชนิดที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อ เช่น โรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ โรคซูโดเกาต์ โรคพุ่มพวง (SLE) เป็นต้น รวมถึงการระคายเคืองจากการเสียดสีก็มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคเข่าบวมน้ำได้เช่นกัน
  3. เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เช่น กระดูกหรืออวัยวะภายในข้อเข่าเสื่อมสภาพลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

โรคเข่าบวมน้ำมีอาการอย่างไร?

  • มีอาการเข่าบวมใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • มีอาการปวดขณะงอหรือไม่สามารถยืดเหยียดขาให้ตรงได้
  • ปวดบริเวณหัวเข่าจนส่งผลต่อการพักผ่อนและทำให้ไม่นอนไม่หลับ
  • มีอาการบวมแดงบริเวณรอบ ๆ หัวเข่า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีการบวมแดงบริเวณด้านหน้า เนื่องจากผิวหนังจะมีความบางกว่าบริเวณอื่น
  • บางรายอาจคลำพบก้อนด้านหลังหัวเข่า จากการที่เข่าสร้างสารน้ำขึ้นมาและดันตัวไปติดกับลูกสะบ้า สารน้ำจึงดันออกมาด้านหลังเกิดเป็นก้อนคล้ายลูกปิงปองและถือเป็นอีกหนึ่งลักษณะของอาการเข่าบวมน้ำ รวมไปถึงมีเสียงดังที่ข้อเข่าขณะเดินหรือเคลื่อนไหวข้อเข่าอีกด้วย

การรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดโรคเข่าบวมน้ำ

การรักษา หากเกิดโรคเข่าบวมน้ำขึ้นแล้วแนวทางการรักษาโดยทั่วไปจะเป็นการใช้วิธีเจาะเอาน้ำออกและการประคบความร้อนบริเวณเข่าที่บวมเพื่อลดอาการปวด ซึ่งการเจาะเอาน้ำออกนั้น หากยังไม่หายดีก็จะมีการสะสมน้ำขึ้นมาใหม่ได้ หากปล่อยไว้นานไปอาจหัวเข่าก็เสื่อมเร็วกว่าเดิม ท้ายที่สุดทางออกคือการผ่าตัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุของน้ำในเข่าร่วมกับการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องหลังผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตามโรคเข่าบวมน้ำก็สามารถป้องกันได้ด้วยการใส่ใจและดูแลตนเอง ดังนี้

  • สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเข่า เช่น สนับเข่าหรือผ้ารัดเข่า เมื่อต้องทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือกีฬาที่ต้องมีการปะทะรุนแรง เช่น สเก็ตบอร์ด ฟุตบอล ตะกร้อ รักบี้ หรือแม้กระทั่งการเต้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการกระแทกอย่างรุนแรงบริเวณหัวเข่า
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือหากออกกำลังกายที่ต้องใช้เข่าควรลงน้ำหนักให้ถูกท่าและไม่หักโหมจนเกินไป
  • นั่งหรือยืนในท่วงท่าที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ นั่งทับขา หรือยืนลงน้ำหนักไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากหัวเข่าเป็นจุดรับน้ำหนักตัว ยิ่งน้ำหนักมากยิ่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วและรับแรงกดมากขึ้นตามไปด้วย
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และทานอาหารที่มีส่วนช่วยในเรื่องของกระดูกและข้อ ทั้งวิตามินและแร่ธาตุ โปรตีน แคลเซียม และคอลลาเจนไดเปปไทด์ที่มีส่วนช่วยในเรื่องความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของข้อเข่า รวมทั้งลดอาการปวดหรืออักเสบจากอาการข้อเข่าเสื่อมได้

โรคเข่าบวมน้ำ จึงถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราควรระมัดระวังและป้องกันไว้ก่อนที่อาการจะรุนแรงจนแก้ไขได้ยาก เนื่องจากโรคเข่าบวมน้ำส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งทำให้เกิดอาการเจ็บ บวม ปวดเข่า ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ หากเริ่มมีอาการเหล่านี้ควรใส่ใจเรื่องการบำรุงกระดูกและข้อให้มากขึ้น หรือหากมีอาการรุนแรงต้องรีบไปพบแพทย์และเข้ารับการรักษาให้ตรงจุดต่อไป

Mana Collagen 1 แถม 1
คอลลาเจนบำรุงกระดูก และข้อต่อ ดูดซึมได้ไวที่สุด จากขนาดโมเลกุลขนาดเล็กของคอลลาเจนไดเปปไทด์